บทที่ 2


บทที่2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง

เตาอบพลังงานแสงอาทิตย์
          
การทำให้แห้งเป็นวิธีหนึ่งของการถนอมอาหาร ซึ่งนิยมทำกันทั้งระดับชาวบ้านและอุตสาหกรรมมาช้านานแล้ว การทำให้แห้งมีหลายวิธี เช่น การตากด้วยแสงอาทิตย์ การอบแห้งด้วยลมร้อน และการอบแห้งแบบเย็นเยือกแข็งเป็นต้น วิธีตากแห้งด้วยแสงอาทิตย์ จะมีความสะดวกและสิ้นค่าใช้จ่ายน้อย โดยเฉพาะพลังงานแสงอาทิตย์เป็นแหล่งกำเนิดความร้อนที่ได้มาโดยไม่ต้องเสีย ค่าใช้จ่าย การตากแห้งโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์แบบดั้งเดิม เช่น การตากเนื้อ ปลา พืช ผักและผลไม้ จะมีปัญหาเรื่องฝุ่นละออง มีเชื้อจุลินทรีย์ แมลงวันตอมเป็นพาหะนำเชื้อโรค และทำให้เกิดหนอนขึ้นได้ เมื่อฝนตกหรืออากาศเย็น การตากอาจมีปัญหาเรื่องเชื้อรา เป็นเหตุให้เก็บไว้ได้ไม่นาน ทำให้ผู้บริโภคอาจเจ็บป่วยได้ ได้มีการพัฒนาการอบแห้งโดยใช้ตู้อบแห้งจากแหล่งพลังงานไฟฟ้า ซึ่งเป็นการสิ้นเปลืองพลังงานและค่าใช้จ่ายเป็นอย่างมาก ทำให้ต้นทุนการผลิตสูง

การอบแห้งด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ ปัจจุบันมีการยอมรับใช้งาน ลักษณะ คือ
1. การอบแห้งระบบ Passive
การอบแห้งระบบ Passive คือระบบที่เครื่องอบแห้งทำงานโดยอาศัยพลังงานแสงอาทิตย์และกระแสลมที่พัดผ่าน ได้แก่

§  เครื่องตากแห้งโดยธรรมชาติ เป็นการวางวัสดุไว้ที่กลางแจ้ง อาศัยความร้อนจากแสงอาทิตย์และกระแสลมในบรรยากาศในการระเหยความชื้นออกจาก วัสดุ
§  ตู้อบแห้งแบบได้รับแสงอาทิตย์โดยตรง วัสดุที่อบจะอยู่ในเครื่องอบแห้งที่ประกอบด้วยวัสดุที่โปร่งใส ความร้อนที่ใช้อบแห้งได้มาจากการดูดกลืนพลังงานแสงอาทิตย์ และอาศัยหลักการขยายตัวเอง อากาศร้อนภายในเครื่องอบแห้งทำให้เกิดการหมุนเวียนของอากาศเพื่อช่วยถ่ายเท อากาศชื้น
§  ตู้อบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบผสม เครื่องอบแห้งชนิดนี้วัสดุที่อยู่ภายในจะได้รับความร้อน ทาง คือ ทางตรงจากดวงอาทิตย์และทางอ้อมจากแผงรับรังสีดวงอาทิตย์ ทำให้อากาศร้อนก่อนที่จะผ่านวัสดุอบแห้ง
2. การอบแห้งระบบ Active
การอบแห้งระบบ Active คือระบบอบแห้งที่มีเครื่องช่วยให้อากาศไหลเวียนในทิศทางที่ต้องการ เช่น จะมีพัดลมติดตั้งในระบบเพื่อบังคับให้มีการไหลของอากาศผ่านระบบ พัดลมจะดูดอากาศจากภายนอกให้ไหลผ่านแผงรับแสงอาทิตย์เพื่อรับความร้อนจากแผง รับแสงอาทิตย์ อากาศร้อนที่ไหลผ่านพัดลมและห้องอบแห้งจะมีความชื้นสัมพัทธ์ต่ำกว่าความชื้น ของพืชผล จึงพาความชื้นจากพืชผลออกสู่ภายนอกทำให้พืชผลที่อบไว้แห้งได้
3. การอบแห้งระบบ Hybrid
การอบแห้งระบบ Hybrid คือระบบอบแห้งที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์และยังต้องอาศัยพลังงานในรูปแบบอื่นๆ ช่วยในเวลาที่มีแสงอาทิตย์ไม่สม่ำเสมอหรือต้องการให้ผลิตผลทางการเกษตรแห้ง เร็วขึ้น เช่น ใช้ร่วมกับพลังงานเชื้อเพลิงจากชีวมวล พลังงานไฟฟ้า วัสดุอบแห้งจะได้รับความร้อนจากอากาศร้อนที่ผ่านเข้าแผงรับแสงอาทิตย์ และการหมุนเวียนของอากาศจะอาศัยพัดลมหรือเครื่องดูดอากาศช่วย
ตู้อบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ จะช่วยให้เวลาในการตากแห้งเร็วขึ้นกว่าแบบทั่วๆ ไป ป้องกันแมลงที่เป็นพาหะนำโรค เช่น แมลงวัน มารบกวน ทำให้อาหารที่ได้จากการตากแห้ง มีความสะอาดถูกหลักอนามัย ใช้งานและดูแลรักษาง่าย นอกจากนี้ยังสามารถป้องกันฝน ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้วัตถุดิบไม่แห้ง และเกิดความเสียหายได้

   กาวแป้งเปียก
     แป้งเปียกคือแป้งมันสำปะหลังกวนกับน้ำบนเตาไฟให้เหนียวสีใสๆใช้แทนกาว  เพราะเห็นน้าซึ่งเป็นช่างตัดเย็บเสื้อผ้า โดยใช้นำมาอัดปกเสื้อ  ขอบกางเกง  หรืออัดจีบเสื้อและกางเกง  ในสมัยนี้แป้งเปียกสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้มากมาย  เช่น  การทำดอกไม้ประดิษฐ์  งานผ้า  และงานประดิษฐ์ต่างๆ

    การทำกาวแป้งเปียก

วัสดุ/อุปกรณ์
1. แป้งมัน  200  กรัม
2.  น้ำ  0.5  ลิตร
3.  หม้อสำหรับต้มกาว
4.  ทัพพี

ขั้นตอนการทำกาวแป้งเปียก

1.  นำน้ำใส่ในหม้อ
2.  เทแป้งมันลงไปแล้วกวนให้เข้ากัน
3.  นำไปตั้งไฟอ่อนๆแล้วค่อยๆกวนเพื่อให้แป้งสุกและเข้ากับน้ำ
4.  จากนั้นก็ทิ้งไว้ให้เย็น
         

กระจกเงา

กระจก หมายถึงวัสดุที่ทำมาจากแก้ว ซึ่งมีองค์ประกอบหลักทางเคมีคือซิลิคอน ซึ่งสามารถหลอมและนำไปขึ้นรูปได้ เมื่อเย็นตัวแล้วมีลักษณะ โปร่งใส และเป็นของแข็งโดยไม่จับผลึก (มีค่าความหยัดตัวสูง) กระจกจึงสามารถแตกได้เหมือนแก้ว และมีความคมมากกว่าแก้วเมื่อแตกเพราะมีความบางในการผลิต
ความแตกต่างในการใช้คำเมื่อเทียบกับคำว่าแก้วคือ กระจกจะใช้เรียกแก้วที่นำมาทำให้เป็นแผ่น โดยมีลักษณะแบนราบและมีความหนาประมาณหนึ่งเป็นส่วนใหญ่
กระจกเป็นลักษณะการผลิตวัสดุประเภทแก้วที่ทำขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการใช้งานต่างๆ เช่น เพื่อเป็นวัสดุกั้นขวางที่ไม่ทึบแสง ใช้เพื่อเป็นฉนวนกั้น ใช้เพื่อประดับตบแต่งอาคาร ฯลฯ ในบางความต้องการใช้ กระจกถูกนำไปปรับคุณสมบัติต่อเพื่อให้มีคุณลักษณะบางอย่าง เช่น ฉาบปรอทที่ด้านๆหนึ่งเพื่อให้มีคุณสมบัติสะท้อนแสงเรียกว่า กระจกเงา หรือผสมสารชนิดอื่นลงไปในเนื้อสารให้มีสีสันหรือความทึบแสงบางส่วนหรือทั้งหมดเรียกว่า กระจกสี กระจกทึบ หรือกระจกควัน หรือนำไปพ่นทรายลงบนพื้นผิวเพื่อให้เกิดความไม่สม่ำเสมอของความเรียบบนผิวทำให้แสงผ่านได้แต่มีลักษณะมัวๆเรียกว่า กระจกฝ้า
เนื่องจากกระจกคือวัสดุประเภทแก้วซึ่งมีความโปร่งใสมากและยังมีค่าดรรชนีหักเหของแสงที่สามารถใช้ประโยชน์ได้ จึงมีการนำไปสร้างเป็นวัสดุที่มีความหนาไม่สม่ำเสมอแต่มีลักษณะเฉพาะ เรียกทับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า เลนส์ (lens) เช่น มีสัณฐานกลมเหมือนเหรียญที่เว้าเข้าตรงกลางทั้งสองด้านเรียกว่า เลนส์เว้า หรือเว้าเข้าด้านเดียวอีกด้านหนึ่งแบนราบและฉาบปรอทมักเรียกว่า กระจกเว้า มีสัณฐานกลมเหมือนเหรียญที่ป่องออกตรงกลางทั้งสองด้านเรียกว่า เลนส์นูน หรือนูนออกด้านเดียวอีกด้านหนึ่งแบนราบและฉาบปรอทมักเรียกว่า กระจกนูน ซึ่งเลนส์คือประเภทการผลิตวัสดุประเภทแก้วในรูปแบบของกระจกเพื่อการใช้งานในลักษณะของการหักเหแสงนั่นเอง
กระจกบางประเภทถูกนำไปประกอบสร้างแบบพิเศษ เช่น เคลือบเนื้อสารบางประเภทเช่นพลาสติกด้านเดียวหรือทั้งสองด้าน (เนื้อสารที่นำมาเคลือบเรียกว่าฟิล์ม) เพื่อให้ทึบแสงหรือเพื่อให้ไม่แตกร่วนหรือเพื่อให้เมื่อแตกแล้วไม่มีความคมคล้ายเมล็ดข้าวโพด เช่น กระจกรถยนต์ ฟิล์มบางประเภทที่นำมาเคลือบเช่น เคฟลาร์ มีลักษณะทางโครงสร้างเคมีที่สามารถกระจายแรงที่มากระทบด้านหน้าออกไปทางด้านข้างได้ จึงทำให้สามารถผลิตเป็นกระจกนิรภัย ที่สามารถทนทานต่อแรงกระแทกได้ และในบางกรณีการผลิตแบบเคลือบด้านนอก อาจปรับเป็นการผลิตแบบสอดไส้ข้างใน หรือ ผสมลงไปเป็นเนื้อเดียวกัน
ในบางกรณีกระจกอาจสร้างจากวัสดุที่มีความใสไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันกับแก้วแต่เป็นวัสดุประเภทอื่นไปเลย แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตามกระจกจะมีความหมายในลักษณะ ใส บาง เป็นแผ่น มีผิวราบเรียบอย่างมาก อาจหมายรวมไปถึง สะท้อนแสงได้ รวมหรือเบี่ยงเบนแสงได้ หรือ เป็นเงา เสมอๆ วัสดุประเภทกระจกนั้น หากมีค่าความยอมให้ผ่านของแสงมากจะเรียกว่า โปร่งใส หากมีค่าน้อยจะเรียกว่า โปร่งแสง และหากไม่มีค่าเลยจะเรียกว่า ทึบแสง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น